วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ว่าด้วยเรื่องธุรกรรมออนไลน์


ดูข่าวข่าวที่หนุ่มเจ้าของร้านประดับยนต์โดนลูกค้าปลอมตัวแฮคบัญชีแบงก์ออนไลน์ สูญเงินเกือบล้านบาท และข่าวโจรไฮเทคแฮคเอทีเอ็มออมสิน กวาดเงินกว่า 12ล้านบาท แล้วทำให้คิดหนักเหมือนกัน เพราะว่าผมเองใช้บริการทางธนาคารออนไลน์อยู่บ่อยๆ  ของกสิกรก็ใช้มานานแล้วตั้งแต่มี K-Cyber Banking ซึ่งทำรายการทางเว็บบราวเซอร์ จนมาถึงยุคที่มีแอพ ก็ใช้แอพ K-Mobile Banking Plus ทำรายการผ่านสมาร์ทโฟนมาตลอด
เรื่องความปลอดภัย..ผมว่าผมมั่นใจใระบบของธนาคาร(ซอฟแวร์) เพราะมีระบบ OTP (One Time Password) คือรหัสยืนยันการทำรายการที่ส่งมาทาง SMS หมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้กับธนาคาร และดูเหมือนว่า K-Mobile Banking Plus จะผูกกับสมาร์ทโฟนเครื่องใดเครื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะผมลงแอพในไอโฟน แล้วพอจะไปลงในไอแพด(ใช้รหัสเดียวกัน) ปรากฏว่าไม่สามารถลงได้ นั่นหมายความว่า 1 Account ใช้ได้กับสมาร์ทโฟน 1 เครื่อง และอีกอย่าง K-Mobile Banking Plus ไม่อนุญาตให้ทำรายการผ่านการเชื่อมต่อ WiFi ต้องผ่านทางคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ ก็คงเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย
แต่ที่เป็นข่าว..ผมว่ามันเกิดจากความผิดพลาดของระบบการให้บริการ และบุคคล (Human Error) เพราะหากพนักงานของทรู มีระบบตรวจสอบบุคคลว่าเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์นั้นจริงมั้ย และ/หรือ พนักงานของธนาคารกสิกร มีระบบตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของบัญชีจริงมั้ย ความผิดพลาดก็คงไม่เกิดขึ้น
จะว่าไปแล้วก็ปลอดภัยกว่าการซื้อของด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ทางออนไลน์เสียอีก เพราะการซื้อขายออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต เพียงแค่มีตัวเลข 3 ชุด คือ หมายเลขบัตร, เดือนหมดอายุ, หมายเลข CVV  เพียงแค่นี้ก็สามารถจ่ายเงินจากบัตรซื้อของออนไลน์ได้แล้ว นั่นหมายความว่าถ้าบัตรคุณหาย หรือตัวเลข3ชุด นั้นถูกขโมย คุณก็จะถูกดูดเงินในบัญชีไปได้
ผมเคยซื้อของออนไลน์จากต่างประเทศบ่อยๆ จะหลีกเลี่ยงการจ่ายด้วย Card Payment ด้วยเหตุผลดังกล่าว แต่จะจ่ายผ่านทาง PayPal สบายใจกว่า…
ทุกผมวันนี้ก็ยังทำธุรกรรมออนไลน์อยู่ประจำ แต่ก็ไม่ลืมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้น เช่น เก็บรหัสผ่านไว้ให้ปลอดภัย เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ ฯ แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่ผมมั่นใจว่าจะไม่โดนแฮคก็คือ…เงินในบัญชีของผมมีจำนวนน้อยนิด ไม่เป็นที่ล่อใจของเหล่าแฮคเกอร์ทั้งหลาย..555