ที่พูดอย่างนี้ .. เพราะไข่อาหารประจําบ้านที่หาซื้อง่าย และทําอาหารได้หลากหลาย ทั้งไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ตุ๋น ไข่ดาว หรือยำไข่ดาว และอีกสารพัดเมนูไข่
ที่จริงแล้ว “ไข่” มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรบ้าง กรมอนามัยขออาสาพาผู้อ่าน ร่วมกันเจาะ (คุณค่า) ไข่ ไปพร้อมๆ กัน
ไข่กับสารอาหาร
ไข่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้สารอาหารโปรตีนที่สมบูรณ์ ไขมัน ธาตเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี12 วิตามินเอ วิตามินดี และเลชิติน ที่ร่างกายต้องการ ปัจจุบันกรมอนามัยได้รณรงค์เติมสาร ไอโอดีนในเครื่องปรุงรสประเภทเกลือ น้ําปลา ซีอิ๊ว รวมทั้งบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยให้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยให้ความ ร่วมมือกับกรมอนามัย เติมสารไอโอดีน ลงไปในอาหารสําหรับเลี้ยงไก่ไข่ การกินไข่ จึงเป็นการเสริมไอโอดีนอีกด้วย
กินไข่อย่างฉลาด
การกินไข่ให้ได้คุณค่าขึ้นอยู่กับกลุ่มวัย เด็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้เน้นกินไข่แดง และตั้งแต่วัย 7 เดือน-วัยรุ่น กินไข่ได้ วันละฟอง สําหรับผู้ใหญ่-ผู้สูงอายุ หาก มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ควรกินเพียง สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง และกลุ่มผู้ป่วย โรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคที่ต้องหลีกเลี่ยง อาหารที่มีคอเลสเตอรอล ควรกินไข่เพียง สัปดาห์ละ 1 ฟอง หรือตามคําแนะนํา ของแพทย์
เมนูไข่...ได้คุณค่า
ไข่ทําเมนูได้หลายชนิด แต่ความ สําคัญอยู่ที่การเลือกเมนู ถ้าอยากกินไข่แบบ ไม่กลัวอ้วน ก็ให้เลือกเมนูประเภทต้ม ตุ๋น เพราะไม่ต้องเพิ่มน้ํามัน ยิ่งน้ํามันแพง ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า แต่หากใคร ต้องการกินไข่ดาว ที่ปกติต้องทอดในน้ํามัน ให้ลองหันมาใช้น้ําธรรมชาติทอดแทน (Poached Egg) ซึ่งขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก โดยใส่น้ําในกระทะพอประมาณ ต้มจนน้ําเดือด เติมเกลือ และน้ําส้มสายชูเล็กน้อย ใช้ตะหลิววนน้ําให้วิ่งเป็นวงกลม แล้วตีไข่ ซึ่งการวนน้ําจะทําให้ไข่ขาวหุ้มไข่แดงโดยไม่ แตกออก แค่นี้ก็ได้ไข่ดาวแบบไขมันต่ำแล้ว
แต่หากต้องการเพิ่มคุณค่าสารอาหาร ให้กับร่างกายก็ทําได้เพียงเติมผัก เนื้อสัตว์ ธัญพืชลงในอาหารจานเด็ดที่ปรุงด้วยไข่ หรือกินควบคู่พร้อมกับข้าวสวย โดยไม่ลืม ปิดท้ายมื้ออาหารด้วยผลไม้ รสไม่หวานจัด เพียงเท่านี้ก็ทําให้ร่างกายได้รับสารอาหาร ครบ 5 หมู่ และหลากหลายมากขึ้น
ถึงตอนนี้...ใครที่ยังกล้าๆ กลัวๆ หรือ ไม่แน่ใจว่าไข่มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ก็เปลี่ยนทัศนคติและกินไข่กันได้อย่าง มีความสุข
ที่สําคัญ...ต้องกินอย่างเหมาะสม ถูกหลักโภชนาการ และหมั่นออกกำลังกายประจำ
ที่มา : กรมอนามัย